วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส

ไมโอซิส I (miosis I)

    เป็นระยะที่มีการแบ่งเซลล์ เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง สามารถแบ่งได้ดังนี้

1.โพรเฟส I (Prophase I)

    เป็นระยะที่ใช้เวลานานที่สุด การแบ่งเซลล์นี้จะเหมือนกับระยะโพรเฟสของ ไมโทซิส (Mitosis) แต่ต่างกันที่ในระยะนี้ของ โพรเฟส I จะมีการแนบชิดติดกันระหว่างโครโมโซม เรียกว่า ไคแอสมา (Chiasma) การแนบชิดติดกันของโครโมโซมนี้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของยีนระหว่างกันเรียกว่า ครอสซิ่งโอเวอร์ (Crossing Over)

2.เมตาเฟส I (Metaphase I)

    เส้นใยสิปเดิลไฟเบอร์ จะยึดคู่ของโครโฒโวมใหเรียงตัวอยู่กลางเซลล์

3.แอนนาเฟส I (Annaphase I)

    เส้นใยสปินเดิลไฟเบอร์ จะหดตัวลงแล้วดึงให้โครโมโซมแยกจากกันอยู่คนละด้านของเซลล์

4.เทโลเฟส I (Telophase I)

    มีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบโครโมโซม และโครโมโซมเริ่มคลายตัวกลายเป็น โคมาทิน หลังจากนั้นจะมีการแบ่งไซโทพลาสซึ่ม จะไดเซลล์ใหม่ขึ้นมา 2 เซลล์ ที่มีจำนวนลดลงครึ่งหนึ่ง




ไมโอซิส II (miosis II)

    เป็นการแบ่งเซลล์ต่อจากไมโอซิส I การแบ่งเซลล์ ระยะนี้จะเป็นการรักษาจำนวนโครโมโซมให้คงที่ ผลที่ได้จากการแบ่งเซลล์ระยะนี้จะได้เซลล์ ใหม่ขึ้นมา 4 เซลล์ (เร่มจากเซลล์ตั้งต้น 2 เซลล์) ขั้นตอนการแบ่งมีดังนี้

1.โพรเฟส II (ProPhase II) 

    เยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายตัว โครมาทินหดตัวกลายเป็นโครโมโซม เซนทริโอล แยกไปอยู่คนละด้านของเซลล์

2.เมตาเฟส II (Metaphase II)

    เส้นใยสปินเดิลไฟเบอร์ จับกับโครโมโซมตรงเซนโทรเมียร์ และยึดโครโมโซมให้อยู่ตรงตัวอยู่กลางเซลล์

3.แอนนาเฟส II (Annaphase II)

   เส้นใยสินเดิลไฟเบอร์จะหดตัวลงแล้วดึงโครมาทิดให้แยกจากหันไปอยู่คนละด้านของเซลล์

4.เทลโเฟส II (Telophaes II)

   มีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบโครมาทิด และโครมาทิดเริ่มคลายตัวกลายเป็น โครมาทิน หลังจากนั้นมีการแบ่งไซโทพลายซึม  จะได้เซลล์ใหม่ขึ้นมา 4 เซลล์ ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม


ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโทซิส

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโทซิส

1.อิเตอร์เฟส (Interphase)

   เป็นระยะที่เซลล์ สะสมพลังงานเพื่อการแบ่งเซลล์ ขั้นตอนนนี้ตึงมีกระบวนการ เมตาบอลิซึ่มสูง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ

    - ระยะ G 1 (G1 Phase) เป็นระยะที่เซลล์มีการสร้าง RNA และโปรตีนขึ้นมา

    - ระยะ S  (S Phase) เป็นระยะที่มีความสำคัญมาก เพราะมีการจำลองโครโมโซม และ DNA ขึ้นมาอีก 1 ชุด ทำให้ระยะนี้เซลล์จะมีโครโมโซมเป็น 2 เทา่ ของโครโมโวมปกติ

    - ระยะ G 2 (G2 Phase) เป็นระยะที่ไม่มีการสร้าง DNA แต่ว่า ยังมีการสร้าง RNA และโปรตีนอยู่ เป็นระยะสุดท้ายของอินเตอร์เฟส กอนเข้าสู่ระยะการแบ่งเซล์

2.โพรเฟส (Prophase) 

    ระยะนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียสจะเริ่มสลายไป โครมาทินจะหดตัวเป็นเกลียว และหนาขึ้นคล้ายตัว x เรียกว่า โครโมโซม และเซนตริโอล (Centriole) จะแยกออกไปอยู่คนละด้านของเซลล์

3.เมตาเฟส (Metaphase)

     ระยะนี้ เซนตริโอลจะสร้างเส้นใย สปินเดิลไฟเบอร์ (Spindlefiber) ขึ้นมาเพื่อยึดโครโมโซมไว้ให้เรียงตัวอยู่กลางเซลล์บริเวณตำแหน่งเซนโทรเมียร์ ระยะนี้ สามารถมองเห็นโ๕รโมโซมได้อย่างชัดเจน จึงเป็นระยะที่ใช้นับจำนวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต

4.แอนนาเฟส (Anaphase)

    ระยะนี้สปินเดิลไฟเบอร์ จะหดตัวทำให้ดครมาทิดแยกออกจากกัน ไปอยู่คนละด้านของเซลล์

5. เทโลเฟส (Telophaes)

    ระยะนี้โครมาทิดจะคลายตัวออกจากกัน กลับมาเป็นโครมาทินเหมือนเดิม และการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบ โคครมาทินเอาไว้ ทำให้ระยะนี้ของเซลล์ จะมองเห็นว่า มี 2 นิวเคลียส หลังจากนั้นจะมีการแบ่งไซโทพลาซึ่มออกจากกัน ทำให้ได้เซลล์ใหม่ขึ้นมา 2 เซลล์ ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม






วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การออสโมซิส (Osmosis)

การออสโมซิส (Osmosis)

    คือ การแพร่ของน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ จากบริเวณที่มี ความเข้มข้นน้อย ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นมาก ซึ่งการออสโมซิสจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยความเข้มข้นของสารระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ สามารถแบ่งประเภทของการออสโมซิสได้ 3 ประเภท ดังนี้


    1.Hypotonic Solution
   เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นของภายนอกเซลล์ น้อยกว่า ความเข้มข้นของสารภายในเซลลล์ น้ำจึงออสโมซิสเข้าไปในเซลล์เต่งขึ้นมา ถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้เซลล์ แตกได้

    2.Hypertonic Solution   
    เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นของภายนอกเซลล์ มากกว่า ความเข้มข้นของสารภายในเซลลล์ น้ำจึงออสโมซิสออกจากเซลล์เหี่ยว เนื่องจากการสูญเสียน้ำ

    3.Iotonic Solution
   เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นของภายนอกเซลล์ เท่ากับ ความเข้มข้นของสารภายในเซลลล์ ทำให้อัตตราการออสโทมซิสของน้ำเข้าและออกมีค่าเท่ากัน เซลล์ จึงมีขนาดเท่าเดิม


การเคลื่อนที่ของสาร ผ่านเข้าออกเซลล์

การเคลื่อนที่ของสาร ผ่านเข้าออกเซลล์

    การเคลื่อนที่ผ่านเข้าออกเซลล์ นั้น ต้องเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่สำคัญอย่างเยื่อหุ้มเซลล์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

    1. Active Transport
   เป็นการเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยใช้พลลังงานจากกระบวนการเมตาบอลิซึม เป็นการเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ จากพื้นที่ ที่มีความเข้มข้นของสารน้อยไปยังพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของสารมาก

    2.Passive Transport
   คือ การเคลื่อนที่ของงสารโดยไม่ใช้พลังงาน แบ่งได้ เป็น 2 ประเภทคือ

    - การแพร่ (Diffusion) >>>>
    - การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion) >>>>


การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion)

การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion)

    เป็นการแพร่ของสารที่ต้องอาศัยโปรตีนที่แทรกอยู่ระหว่างชั้นไขมันในการที่จะพาสารเข้าออกเซลล์ โดยสารที่จะลำเลียงเข้าไปในนั้นจะรวมตัวเข้ากับชั้นของโปรตีนซึ่งเรียกว่า โปรตีนตัวพา จะเป็นตัวพาสารเข้าสู่ด้านในของเซลล์.


ภาพตัวอย่าง การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion)

การแพร่ (Diffusion)

การแพร่ (Diffusion)

    เป็นการคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นมาก ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า เช่น การแพร่ของน้ำตาลในน้ำ น้ำตาลจะแพร่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำตาลมาก ไปยังพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของน้ำตาลน้อยกว่า จนทุกยริเวณมีความเข้มข้นของน้ำตาลเท่าๆกันหมด สารจึงหยุดการแพร่ เรียกว่าลก "สมดุารแพร่" (ยังมีการเคลื่อนที่ของสารอยู่แต่ว่า การเคลื่อนที่ของสารในสารละลายทุกจุดเท่ากัน ทำให้เหมือนว่า สารยั้ยหยุดเคลื่อนที่)


ภาพตัวอย่าง การแพร่

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การแบ่งเซลล์

การแบ่งเซลล์

    การแบ่งเซลล์ เป้นการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิต ซึ่งผลของการแบ่งเซลล์ ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต และยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายรวมไปถึงการสร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์ เดิมที่ตายไป โดยการแบ่งเซลล์นั้นจะมีขั้นตอนสำคัญอยู่ 2 ขั้นตอน คือ การแบ่งนิวเคลียส (Karyokinesis) และการแบ่งไซโทรพลาสซึม (Cytokinesis) การแบ่งเซลล์สามารถแบ่งได้สองประเภทดีงนี้

    1. การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Mitosis)
   การแบ่งเซลล์ของร่างกาย เป็นการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนของเซลล์  เมื่อเสร็จแล้วจะไดเซลล์ 2 เซลล์ ที่มีลักษณะเหมือนกัน รวมถึงโครโมโซมที่ยังมีอยู่เท่าเดิม



     2. การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis)
    การแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งก็คือ อสุจิหรือ รังไข่ นั่นเอง โดยจะมีการแบ่งเซลล์ 2 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์ จะได้เซลลล์ใหม่ทั้งหมด 4 เซลล์ และมีจำนวนโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งของโครโมซมร่างกายเสมอ




ชนิดของเซลล์

ชนิดของเซลล์

   จากการศึกษา เรื่องของเซลล์ เราสามารถจำแนก เซลล์ออกได้เป็น 2 กลุ่ม โดยใช้ลักษณะของเยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นเกณฑ์ในการจำแนก

   1. เซลลล์โพคาริโอต (Prokaryotic Cell)
         เป็นเซลล์ ที่ไม่มี เยื่อหุ้มนิวเคลียสนิวเคลียส นิวเคลียสจึงกระจายตัวอยู่ภายในเซลล์ พบมากในสิ่งมีชีวิจเซลล์เดียวที่มีโ๕รงสร้างไม่ซับซ้อนมาก เช่น แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

   2. เซลล์ยูคาริโอต (Eukaryotic Cell)
         เป็นเซลล์ที่ มี เยื่อหุ้มนิวเคลียส และมีสารพันธุกรรมบรรจุอยู่ภายในนิวเคลียส เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ที่มีดครงสร้างซับซ้อน เช่น พืช และสัตว์


ส่วนประกอบของเซลล์

ส่วนประกอบของเซลล์

   เซลล์ เป็นหน่วยย่อยที่สุดของสิ่งมีชีวิต เพราะฉนั้น สิ่งมีชีวิตทุกๆ ชนิดจะประกอบข้อนมาจากเซลล์ และเพื่อให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เซลล์ จึงมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของหน้าที่การทำงาน แต่ว่า เซลล์ เกือบทุกชนิดจะมีโครงสร้างภายในเซลล์ เหมือนๆกันดังนี้




โครงสร้างภายในเซลล์

    1.ไซโทพลาสซึ่ม (cytoplasm)

       คือส่วนประกอบของเซลล์ที่อยู่ภายใต้เยื่อหุ้มเซลล์ แต่อยู่นอกนิวเคลียส หรือเรียกได้ว่า ไซโทพลาซึมเป็นส่วนของโพรโทพลาสซึมที่อยู่นอกนิวเคลียส ไซโทพลาซึมประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างย่อย ๆ ภายในเซลล์ เรียกว่า ออร์แกเนลล์(organelle) และส่วนที่เป็นของกึ่งเหลว เรียกว่า ไซโทซอล (cytosol) องค์ประกอบประมาณ 80% ของไซโทพลาซึมเป็นน้ำ และมักไม่มีสี ในเซลล์ โพรแคริโอต (ซึ่งไม่มีนิวเคลียส) เนื้อในของเซลล์ทั้งหมดจะอยู่ในไซโทพลาซึม สำหรับเซลล์ ยูแคริโอต องค์ประกอบภายในนิวเคลียสจะแยกออกจากไซโทพลาซึม และมีชื่อเรียกแยกว่า นิวคลิโอพลาซึม




    2.ไมโทครอนเดรีย (mitochondria)
     
   ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane)




    3.ไรโบโซม (Ribosome

       สามารถพบได้ทั้งในเซลล์ของโปรคาริโอตและเซลล์ของยูคาริโอต มีลักษณะกลมและมีขนาดเล็กมาก ไม่มีเยื่อหุ้ม และมักมีจำนวนมากภายใน เซลล์(Cell) มีหน้าที่สำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนทั้งในเซลล์ของโปรคาริโอตและเซลล์ของยูคาริโอต โดยจะอ่านรหัสจาก ยีน(Gene)ในนิวเคลียส(Nucleus)ที่ถูกส่งออกมาในรูปแบบของ mRNA




    4.กอลจิบอดี(golgi body)

    หรือ กอลจิ คอมเพล็กซ์ (golgi complex)กอลจิ แอพพาราตัส (golgi apparatus)ดิกไทโอโซม (dictyosome) เป็นออร์แกเนลล์ ที่มีรูปร่างเป็นลักษณะคล้ายชามซึ่งเรียกว่า ซิสเทอร์นา (cisterna หรือ flattened sac) เป็นถุงแบนๆ หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกัน เป็นชั้นๆ มีจำนวนไม่แน่นอน มีประมาณ 5-10 ชั้น มักพบ 2-8 อัน ตรงปลายของถุงมักโป่งออก ถุงเหล่านี้มีผนัง 2 ชั้น หรือยูนิตเมมเบรนเหมือนๆ กับเยื่อหุ้มนิวเคลียส และเยื่อหุ้มเซลล์ และมีโครงสร้างคล้าย SER ภายในถุงมีของเหลวบรรจุอยู่ โดยทั่วไป จะพบในเซลล์สัตว์ ์มีกระดูกสันหลัง มากกว่าสัตว ์ไม่มีกระดูกสันหลัง รูปร่างของกอลจิบอดี จะเปลี่ยนอยู่เสมอ เป็นเพราะบางส่วนเจริญเติบโต บางส่วนจะหด และหายไป ด้านที่มีการเจริญเติบโต จะสร้างตัวเองโดย มีการรวมตัวของเวสิเคล จากเอนโดพลาสมิก เรทิคิวลัม กับซิสเทอร์น่า ซึ่งกอลจิบอดี มีหน้าที่ดังนี้

  - เก็บสะสมสาร ที่เซลล์สร้างขึ้น ก่อนที่จะปล่อยออกนอกเซลล์ ซึ่งสารส่วนใหญ่ เป็นสารโปรตีน มีการจัดเรียงตัว หรือจัดสภาพใหม่ ให้เหมาะกับสภาพของการใช้งาน

  - กอลจิ บอดี เกี่ยวข้องกับ การสร้างอะโครโซม (acrosome) ซึ่งอยู่ที่ส่วนหัวของสเปิร์ม โดยทำหน้าที่เจาะไข่ เมื่อเกิดปฏิสนธิ ในอะโครโซมจะมีน้ำย่อย ช่วยสลายเยื่อหุ้มเซลล์ไข่ 

  - เกี่ยวข้องกับ การสร้างนีมาโทซิส (nematocyst) ของไฮดร้า 

  - ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การสร้างเมือกทั้งในพืช และสัตว์ ในพืชกอลจิบอด ทำหน้าที่สร้างเมือก บริเวณหมวกราก (root cap) เพื่อให้รากชอนไชในดิน ได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่วนในสัตว์ เนื้อเยื่อบุผนังลำไส ้บุกระเพาะอาหาร สร้างเยื่อเมือกฉาบบริเวณผิว เพื่อป้องกันการย่อยของเอนไซม์ ในกระเพาะอาหาร และลำไส้ย่อยตัวกระเพาะ หรือลำไส้เอง 

  - ทำหน้าที่ขับสารประกอบต่างๆ เช่น ลิปิด ฮอร์โมน เอนไซม์ที่ส่วนต่างๆ ของเซลล์ สร้างขึ้นออกทางเยื่อหุ้มเซลล์ 

  - ในพืช ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การสร้างผนังเซลล์ ขึ้นมาใหม่ ในช่วงปลายของการแบ่งเซลล์ เมื่อจะสร้างเซลล์เพลท (cell plate) กอลจิบอดีจะมารวมกัน และสร้างถุงเล็กๆ มากมาย


    5.ร่างแหเอ็นโดพลาสมิค (endoplasmic reticulum, ER)

  เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมเป็นเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นถุงและท่อ เรียกว่า ซีสเทอร์นี เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมมีโครงสร้างเป็ฯระบบท่อที่มีการเชื่อมประสานกันทั้งเซลล์เยื่อหุ้มของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมเป็นส่วนที่ต่อเนื่องมาจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสภายในท่อมีของเหลวอยูด้วยเรียกว่า ไฮยาโลพลาสซึม หน้าที่ของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัม เกี่ยวข้องกับการผลิตโปรตีนสำหรับการเจริญหรือเป็นเอนไซม์สำหรับกระบวนการเมทาบอลิซึม(metabolism)


    ชนิดของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมภายในเซลล์มี ชนิด คือ 
        1.เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระ เป็น ER ที่เชื่อมต่ออยู่กับเยื่อหุ้มนิวเคลียสซึ่งผนังทางด้านนอกมีไรโบโซม มาเกาะอยู่จึงมีลักษณะขรุขระ หน้าที่ของ เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระ(RER)
  • - ลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆ ของเซลล์ เช่น สารพวกไขมัน,
  • - โปรตีสังเคราะโปรตีน เพราะที่ผิวด้านนอกของ RER มีไรโบโซมหน่วยใหญ่มาเกาะอยู่เมื่อมีการสังเคราะโปรตีนขึ้น โปรตีนที่ได้จะเคลื่อนที่ผ่านรูของหน่วยใหญ่ของไรโบโซมและผ่านเมมเบรนเข้าสู่ซีสเตอร์นี
  • - สังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์

      
 2. เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดเรียบ (SER) ป็น ER ที่ผิวด้านนอกของเยื่อหุ้มไม่มีไรโบโซมมาเกาะจึงมีลักษณะเรียบ SER มีลักษณะเป็นท่อหรือกระเปาะซึ่งท่อนี้จะเชื่อมต่อกับซีสเตอร์นีของ RER และเยื่อหุ้มนิวเคลียส  หน้าที่ของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดเรียบ (SER)
  • - กำจัดสารพิษ เช่น การทำงานของเซลล์ตับ
  • - กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ โดย SER ในกล้ามเนื้อจะทำหน้าที่สะสมแคลเซยมไอออน
  • - เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายไกลโคเจน
  • - สังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมน
  • - สะสมสารต่างๆ
  • - ลำเลียงสารไปสู่ส่วนต่างๆ ของเซลล์


    6.คลอโรพลาส (Chloroplast)

    เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติดมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติดไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่




    7.แวคิวโอล (Vacuole)


     เป็นช่อง ล้อมรอบด้วยเมมเบรนชนิดเยื่อยูนิตชั้นเดียว อยู่ภายใน เซลล์ยูแคริโอต(eukaryotic cell) บางชนิด พบในเซลล์พืชส่วนใหญ่และสัตว์หลายชนิด โดยแวคิวโอลในสัตว์มักเล็กกว่าในพืช แวคิวโอลสามารถทำหน้าที่เป็นที่เก็บ หลั่ง และถ่ายของเหลวภายในเซลล์ แวคิวโอลและสารภายในถือว่าแตกต่างจากไซโตพลาสซึม สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ

  1. Contractile vacuole จะพบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ในอาณาจักรโพรทิสตา ทำหน้าหน้าทีรักษาสมดุลของน้ำ
  2. Food vacuole บรรจุอาหาร พบในเซลล์เม็ดเลือดขาวบนสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้เราอาจแบ่งได้อีก เช่น Fat vacuole
  3. Sap vacuole จะเจอในเซลล์พืช ทำหน้าที่สะสมสีไอออน น้ำตาล กรดอะมิโน สะสมผลึกสารพิษในเซลล์


    8.ไลโซโซม (lysosome)

    ทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลายโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีลักษณะเป็นถุง มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว พบในเซลล์สัตว์และพืชบางชนิด และเม็ดเลือดขาว เซลล์พืชบางชนิด เช่น กาบหอยแครง หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชที่ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น N (ไนโตรเจน) จึงใช้ไลโซโซมในการย่อยแมลง




   9.นิวเคลียส (nucleus)

    เป็นใจกลางหรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง มีหน้าที่การรักษาเสถียรภาพของยีนต่างๆและทำการควบคุมการทำงานต่างๆของเซลล์โดยผ่านการแสดงออกของยีน

 10.นิวคลีโอลัส (Nucleolus)

   ออร์แกเนลล์ (Organelle) คือ โครงสร้างย่อยที่มีขนาดเล็กอยู่ภายในเซลล์และมีหน้าที่เฉพาะ ออร์แกเนลล์ (Organelle) มักอยู่ภายในไซโตซอล (Cytosol) หรือ อยู่ติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) และ มักอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane)ของเซลล์ ออร์แกเนลล์ (Organelle) สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ และสามารถแยกให้บริสุทธิ์ได้โดยวิธีการกระบวนการปั่นแยกส่วนของเซลล์ (Cell Fractionation)



  11.โครโมโซม (Chromosome)

   โครโมโซม (Chromosome)เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA) รวมถึงหน่วยพันธุกรรมหรือยีน(gene) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และผิว


วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคเรียนแก่ง "พื้นฐานคือสิ่งสำคัญ"

เทคนิคเรียนแก่ง "พื้นฐานคือสิ่งสำคัญ"

   พิ้นฐาน เป็นสิ่งที่หลายๆคนอาจจะมองข้ามไปในการเรียน เพราะคิดว่า มันง่าย ใครๆ ก็ทำได้เป้นเรื่องที่น่าเบื่อ แต่หารู้ไม่ว่า พื้นฐานนี่แหละสำคัญที่สุดเลย

   ขอยกตัวอย่างที่ง่ายและเห็นภาพชัดที่สุด ก็คือ การเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ทุกคนล้วนต้องเคยเรียน การที่เราจะเป็นคนทำโจทย์ คณิตเก่งแล้ว พื้นฐานเลย คือการทำโจทย์เดิมซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ

   เราทำโจทย์ ซ้ำเพื่ออะไร ทำไมไม่ทำโจทย์ใหม่ที่มันท้าทายกว่าหละ ที่ เราต้องทำโจทย์ ซ้ำๆ เพื่อๆที่จะไดเรียนรู็ถึง แบบแผน 

    การเรียน ไม่ต่างอะไรกับการเล่น กีฬา ที่ต้องทำให้ร่างกาย จดจำจังหวะนั้นๆเอาไว้ได้ เพื่อที่จะได้ทำครั้งต่อไปได้ง่ายขึ้น การทำโจทย์ ซ้ำๆ จะทำให้เราเข้าใจในแบบแผน และทำโจทย์ ได้ไวขึ้น

    เมื่อเราทำโจทย์ไปมากๆ ร่างกายของเรา จะตอบสนองแบบแผนของโจทน์นั้นโดยอัตโนมัตและรู้ได้ทันที ถึงรูปแบบของโจทญนั้นๆ

    สมมุตว่า ขั้นตอนการทำโจทย์ มี 4 ขั้นตอน A B C D ตามลำดับ ในช่วงแรกของการทำโจทย์ เราอาจจะต้องทำทีละขั้น จาก A ไป B จาก B ไป C จาก Cไป D เป็นต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราสามารถจำรูปแบบและวิธีการคิดของโจทย์ แบบนั้นๆได้ ขั้นตอนในการทำโจทย์ของเราจะลดลง เหลือเพียงจาก A ไป D

    ทั้งนี้ไม่ว่าเราจะเรียนอะไร หรือทำอะไรขอให้ตระหนักไว้เสมอว่า การเรียนรู็เพื้นฐาน เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเสมอ เปรียบเสมือน "รากฐานของบ้านที่มั่นคง เมื่อรากฐานมั่นคงบ้านหลังนั้นจะรับน้ำหนัง และสิ่งต่างได้มากมาย"


องค์ประกอบของกล้องจุลทัศน์

องค์ประกอบของกล้องจุลทัศน์

    กล้องจุลทัศน์ 
    เป็นเครื่องมือ ที่เราใช้ขายภาพของวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆ ให้มีขนาดของภาพที่ใหญ่ขึ้น จนสามารถมองเ็นได้ด้วยตาเปล่า ปัจจุบัน กล้องจุลทัศน์ ก็มีมากมายหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะมี องค์ประกอบหลัก เหมือนๆกัน ดังนี้


1.เลนส์ใกล้วัตถุ(Objective Lens)
    เป็นเลนส์ ที่ใช้ขยายภาพที่เกิดจากวัตถุ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพที่เกิดขึ้นเป็นภาพจริงหัวกลับ โดยทั่วไปกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุมีตั้งแต่ 10x(กำลังขยาย 10 เท่า) 40 x(กำลังขยาย 40 เท่า) 100x(กำลังขยาย 100 เท่า)

2.เลนส์ใกล้ตา(Eyepiece)
    เป็นเลนส์ ที่อยู่ด้านบนสุดของลก้อง ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลน์ใกล้วัตถุมากยิ่งขึ้น ภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ

3.แท่นวางวัตถุ(Spacimen Stage)
    เป็นส่วนที่เราใช้วาง สไลด์ หรือตัวอย่างที่เราต้องการศึกษา

4.เลนส์รวมแสง(Condenser)
    ทำหน้าที่รวมแสง ทำให้ปริมาณแสงมีมากขึ้นและเข้มขึ้น ส่งผลทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดมากยิ่งขึ้น

5.ไดอะเฟรม(Diaphragm)
    ทำหน้าที่ปรับปริมาณความเข้มแสงให้เข้าสู่เลนส์ รวมแสงตามปริมาณที่เราต้องการ

6.ปุ่มปรับภาพหยาบ(Coarse Adjustment)
    ทำหน้าที่ปรับโฟกัสของกล้องให้เราสามารถมองเห็นภาพได้

7.ปุ่มปรับภาพละเอียด(Fine Adjustment)
    ทำหน้าที่ปรับภาพเหมือนปุ่มปรับภาพหยาบ ทำให้เราสามารถมองภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

กำลังขยายของกล้อง = กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ X กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา

ทำให้สมองเร็วขึ้น ด้วยวิธีง่ายๆ

ทำให้สมองเร็วขึ้น ด้วยวิธีง่ายๆ 

    การที่สมองเราจะเร็วขึ้น หรือช้าลงนั้นมักจะขึ้นอยู่กับสภาวะของสมอง ที่ถูกกระตุ้นมากน้อยเพียงใด คนที่มีสมองที่เร็ว ส่วนใหญ่แล้ว สมองของเขาจะถูกกระตุ้นอยูเสมอ

    เพราะนั้น ถ้าเราอยากให้สมองเราเร็วขึ้น เราก็ต้องกระตุ้นสมองของเราให้อยู่ในสภาวะตื่นตัวอยู่เสมอๆ ในครั้งนี้ ขอเสนอวิธีง่ายๆ ก็คือ "การฟัง การดู การอ่าน ให้เร็วขึ้น" 

    ยกตัวอย่าง เช่น ช่วงสอบ ผู้เขียนมักจะฟังบรรยายที่ยยรทึกมาจากห้องเรียนน หรือคลิปวีดีโอใน Youtube ที่เกี่ยวกับเรื่องเรียน ผูเขียน มักจะปรับความเร็วของ วีดีโอ หรือเสียงให้เร็วขึ้น 1.5 เท่าเสมอ การทำเช่นนี้จะทำให้สมองเราถูกกระตุ้นและตื่นตัว แต่ข้อเสียของการทำวิธีนี้ อาจจะทำให้เราอาจจะฟังรายละเอียดบางช่วงบางตอน ตกหล่นไปนั่นเอง เพราะฉนั้น การฝึกฝนจึงเป็นเรื่องจำคัญ

    นอกจาก การฟัง และการดูแล้ว การอ่านเร็ว เป็นอีกวิธีที่ผู้ใช้มักจะทำเสมอๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นสมองของเราเอง อีกอย่างหนึ่งคือ การอ่านเร็วนั้น จะทำให้เราไม่ง่วงนอน เพราะสมองของเราจะตื่นตัวตลอดเวลา

    อีกหนึ่งวิธี ของการอ่านหนังสือ คือการเดินพร้อมกับการอ่านหนังสือ เราอาจจะเดินวนภายในห้องพร้อมๆ กับการท่องจำหรือการอ่าน วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ในการกระตุ้นสมองของเรานั่นเอง

    วิธีต่างๆ ที่กล่าาวมาข้างต้น เป็น หนึ่งในอีกหลายๆ วิธีในการทำให้สมองของเราถูกกระตุ้นและตื่นตัว ในสมัยก่อน หรือในหนังหรือ ซีรีย์ ต่างๆ เรามักจะเห็นเวลาที่นักเรียน หรือ ใครก็ตามที่กำลังพยายาม อ่านหนังสือสอบ มักจะใช้ผ้า หนึ่งผืน มารัดที่ศรีษะเสมอ นั่นเป็นอีกหนึ่งวิธี ที่จะทำให้สมองของเราถูกกระตุ้น

    เพราะระหว่างสมองกับกระโหลกของคนเรา มันจะมีที่ว่างเล็ก ๆ อยู่ เมื่อเรานำผ้ามารัดให้แน่นจะทำให้สมองของเรากระชับขึ้น และรู็สึกเหมือนกับถูกกระตุ้นอยู่นั่นเอง

เทโอเดอร์ ชวันน์ (Theodor Schwann)

เทโอเดอร์ ชวันน์ (Theodor Schwann)

    ในปี ค.ศ. 1839 เทโอเดอร์ ชวันน์ (Theodor Schwann) นักวิทยาศาสตร์ ชาวเยอรมัน ได้ศึกษาโครงสร้างของเซลล์จากเนื้อเย่ื่อสัตว์ ชนิดต่างๆ ทำให้ทราบว่า เนื้อเยื่อของสัตว์ ทุกชนิด จะประกอบไปด้วยเซลล์ และสามารถสรุปได้ว่า โครงสร้างพื้นฐานของสิงมีชีวิต คือ เซลล์


เทโอเดอร์ ชวันน์ (Theodor Schwann)


เพิ่มเติม
ประวัติการค้นพบ เซลล์ของสิ่งมีชีวิต>>>>

โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke)

โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) 

    เกิดเมื่อ 18 กรกฎาคม ค.ศ.1935 ประเทศอังกฤษ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Oxford เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์ กล้องจุลทัศน์ ขนิดเลนส์ประกอบ ขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นเลนส์คู่

    เข้าได้ทำการศึกษา เกี่ยวกับเนื้อเยอื่ของไม้คอร์กที่ตายแล้ว พบว่าที่เนื้อไม้มีช่องว่างจำนวนมากลักษณะคล้ายรังผึ้ง เรียงชิดติดกัน ซึ่งภายหลังเราเรียกว่า เซลล์ จึงเป้นจุดเริ่มต้น การศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กนั่นเอง


โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) 

เพิ่มเติม

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ประวัติการค้นพบ เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

ประวัติการค้นพบ เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

     ในปี ค.ศ.1655 นักพฤษศาสตร์ชาวอังกฤษ โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) ใช้กล้องจุลทัศน์ ที่ประดิษณขึ้นเอง มาสังเกตุโครงสร้างของไม้ คอร์ก (Cork) เข้าพบห้องเล็กๆจำนวนมาก มีลักษณะคล้อยรังผึงต่อกันเป็นแผง ต่อมาเขาเรียกห้องเล็กๆเหล่านี้ว่า เซลล์ ซึ่งเซลล์ ของไม้คอร์ก ที่ ฮุค สำรวจนั้นเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ยกเว้นแต่ส่วนของ ผนังเซลล์ (Cell Wall) เท่านั้น


เซลล์ ไม้คอร์ก ที่โรเบิร์ต ฮุค ศึกษา
กล้องจุลทัศน์ ของ โรเบิร์ต ฮุค


    ทฤษฎีเซลล์ (Cell Theory)
    
    ต่อมา ในปี ค.ศ.1839 นักฤฤษศาสตร์ มัสติอัส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jacon Schleiden) และ นักวิทยาศาสตร์ เทโอเดอร์ ชวันน์ (Theodor Schwann) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเซลลล์พืชและเซลล์สัตว์ จนสามารถสรุป ทฤษฏีของเซลล์(Cell Theory) ออกมาได้ 2 ข้อคือ

    1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบไปด้วยเซลล์ และผลผลิตของเซลล์
    2. เซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้น ต้องมาจากเซลล์เดิมเท่านั้น



เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke) >>>>
เทโอเดอร์ ชวันน์ (Theodor Schwann) >>>>

วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เทคนิคเรียนเก่ง "อ่านสารบัญเพื่อเข้าใจภาพรวม"

เทคนิคเรียนเก่ง "อ่านสารบัญเพื่อเข้าใจภาพรวม"

   ทำไมต้องอ่านสารบัญ ?

    ปกติแล้ว การเรียนในแต่ละวัน แต่ละเทอม ประกอบไปด้วยวิชาเรียน และเนื้อหาที่หลากหลาย ทำให้เวลาเราอ่านหนังสือหรือต้องท่องจำทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องที่ยาก มากๆ เพราะฉนั้น การจัดระบบจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งการมองภาพรวม จะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น

    โดยหนึ่งในเทคนิคที่นิยมใช้กันก็คือ การอ่านสารบัญ หรือการถ่ายสารบัญไว้อ่านเลย  โดยเราจะนำสารบัญที่ถ่ายมา ดูควบคู่ไปกับ เนื้อหาที่เราอ่าน เพราะจะเป็นการย้ำเตือนถึงเรื่องที่เราอ่านว่า มันอยู่ตรงไหนของภาพรวม เพื่อที่จะได้จัดระบบในสมองได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

    เราอาจจะบอกว่า ไม่เห็นต้องถ่ายสารบัญมาดูเลย ก็แค่พลิกกับไปดูด้านหน้าสิ ถ้าจะทำก็ทำได้ครับแต่ว่า จะทำให้สมาธิในการอ่านหนังสือขิงเราลดลง ทั้งยังต้องเสียเวลาเปิดหนังสือกลลับไปกลับมาอีกด้วย

    แต่ถ้าเราถ่าบเอกสารหน้าสารบัญออกมา เราแค่กวาดสายตาไปดูเท่านั้น ก็จะทำให้เราทราบถึงตำแหน่งของเนื้อหาที่เรากำลังอ่านอยู่ และกลับมาอ่านหนังสือต่ออย่างง่ายดาย

    ซึ่งวิธีที่ผู้เขียนใช้คือ การทำที่ขั้นหนังสือ ที่พิมพ์ด้วยเนื้อหาจากสารบัญ จะทำให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

    อีกหนึ่งวิธีของการทำความเข้าใจภาพรวมคือการอ่าน บทนำ และ บทส่งท้าย ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะที่บทนำ และบทส่งท้ายนั้น จะมีเนื้อหาใจความสำคัญ ทัศนคติ และความรู้ที่ผู้อ่านควรจะได้ และความรู้สึกของผู้เขียนที่จะสื่อถึงผู้อ่านอยู่ด้วย ซึ่งมันจะเต็มไปด้วย คีย์เวิร์ดมากมาย ที่จะทำให้เราเข้ใจในภาพรวมมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณต้นแบบความคิด
Cr.อิโต มะโกะโตะ


ข้อควรปฏิบัติระหว่างการประชุม

ข้อควรปฏิบัติระหว่างการประชุม

    เราอาจจะเคยเจอเหตุการณ์ หรือคำพูดที่ว่า "ประชุมเมื่อกี้ ไม่เห็นเกิดประโยชน์เลย เหมือนเขาไปนั่งฟังเฉยๆ" อารมณ์ประมานว่า ประชุมก็แค่ประชุม ไม่ได้เอาไปใช้จริงอะไร ไม่มีความสำคัญเป็นนัยญะ หรือเราก็แค่ประชุมไปตามหน้าที่รั่รเอง ผู้เขียนคิดว่าหลายๆตนต้องพบเจอปัญหาแบบนี้กันมาบ้าง

  การประชุมคืออะไร ?
   
   ก่อนอื่น เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า การประชุมคืออะไร ที่จริงแล้ว การประชุมประกอบไปด้วย สองขั้นตอนใหญ่ๆ คือ การระดมสมอง และ การประเมิน 

    - การระดมสมอง คือ การที่เราร่วมกันเสนอความติดเห็น ที่คิดว่าดีที่สุดของเราให้คนอื่่นๆได้รับรู้ โดยที่การระดมสมองมีกติกาง่ายๆอยู่หนึ่งข้อ คือ การปฏิเสธความคิดหรือว่า ไอเดีย ของคนอื่นๆ เพราะการทำเช่นนี้อาจจะทำให้ไอเดียที่ดีที่สุดหลุดหรือหล่นไปได้นั่นเอง

     - การประเมิน คือ การนำเอาไอเดียที่ได้ มาจัดระเบียบและลงข้อสรุป ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมสามารถถกเถียง พร้อมให้เหตผลขอข้อโต้แย้งนั้นๆได้

    โดยสรุปแล้ว ทั้งการระดมสมอง และการปะเมิน เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งระหว่างการประชุม แต่ส่วนประกอบหลักที่สำคัญที่สุดคือผู้เข้าร่วมประชุม จะต้องมีความคิดทัศนะ เจตคติที่ดีต่อการประชุมและองค์กรนั้นๆด้วย เพราะฉนั้น การรู้และเข้าใจในจุดประสงค์ ของการประชุมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

   >สรุป< 

   การระดมสมอง ->  การออกไอเดียเรื่อยๆ  
    ภายใต้กติกา "ทุกคนสามารถออกไอเดียได้ แต่ห้ามปฏิเสธไอเดียคนอื่น"

   การประเมิน      ->  การนำไอเดียที่ได้มาพิจารณา
   ภายใต้กติกา "ทุคนต้องวิพากษ์วิจารณ์ หรือถกเถียงเกี่ยวกับไอเดียที่ได้จากการระดมสมองอย่างมีเหตุผล" 



ขอบคุณต้นแบบความคิด 
Cr.โคโนะ เอตาโร่

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส ไมโอซิส I (miosis I)     เป็นระยะที่มีการแบ่งเซลล์ เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง สามารถแบ่งได้ดังนี้ ...