กล้องจุลทัศน์
เป็นเครื่องมือ ที่เราใช้ขายภาพของวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆ ให้มีขนาดของภาพที่ใหญ่ขึ้น จนสามารถมองเ็นได้ด้วยตาเปล่า ปัจจุบัน กล้องจุลทัศน์ ก็มีมากมายหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะมี องค์ประกอบหลัก เหมือนๆกัน ดังนี้
เป็นเลนส์ ที่ใช้ขยายภาพที่เกิดจากวัตถุ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพที่เกิดขึ้นเป็นภาพจริงหัวกลับ โดยทั่วไปกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุมีตั้งแต่ 10x(กำลังขยาย 10 เท่า) 40 x(กำลังขยาย 40 เท่า) 100x(กำลังขยาย 100 เท่า)
2.เลนส์ใกล้ตา(Eyepiece)
เป็นเลนส์ ที่อยู่ด้านบนสุดของลก้อง ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลน์ใกล้วัตถุมากยิ่งขึ้น ภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ
3.แท่นวางวัตถุ(Spacimen Stage)
เป็นส่วนที่เราใช้วาง สไลด์ หรือตัวอย่างที่เราต้องการศึกษา
4.เลนส์รวมแสง(Condenser)
ทำหน้าที่รวมแสง ทำให้ปริมาณแสงมีมากขึ้นและเข้มขึ้น ส่งผลทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดมากยิ่งขึ้น
5.ไดอะเฟรม(Diaphragm)
ทำหน้าที่ปรับปริมาณความเข้มแสงให้เข้าสู่เลนส์ รวมแสงตามปริมาณที่เราต้องการ
6.ปุ่มปรับภาพหยาบ(Coarse Adjustment)
ทำหน้าที่ปรับโฟกัสของกล้องให้เราสามารถมองเห็นภาพได้
7.ปุ่มปรับภาพละเอียด(Fine Adjustment)
ทำหน้าที่ปรับภาพเหมือนปุ่มปรับภาพหยาบ ทำให้เราสามารถมองภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
กำลังขยายของกล้อง = กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ X กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น