วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ส่วนประกอบของเซลล์

ส่วนประกอบของเซลล์

   เซลล์ เป็นหน่วยย่อยที่สุดของสิ่งมีชีวิต เพราะฉนั้น สิ่งมีชีวิตทุกๆ ชนิดจะประกอบข้อนมาจากเซลล์ และเพื่อให้เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เซลล์ จึงมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของหน้าที่การทำงาน แต่ว่า เซลล์ เกือบทุกชนิดจะมีโครงสร้างภายในเซลล์ เหมือนๆกันดังนี้




โครงสร้างภายในเซลล์

    1.ไซโทพลาสซึ่ม (cytoplasm)

       คือส่วนประกอบของเซลล์ที่อยู่ภายใต้เยื่อหุ้มเซลล์ แต่อยู่นอกนิวเคลียส หรือเรียกได้ว่า ไซโทพลาซึมเป็นส่วนของโพรโทพลาสซึมที่อยู่นอกนิวเคลียส ไซโทพลาซึมประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างย่อย ๆ ภายในเซลล์ เรียกว่า ออร์แกเนลล์(organelle) และส่วนที่เป็นของกึ่งเหลว เรียกว่า ไซโทซอล (cytosol) องค์ประกอบประมาณ 80% ของไซโทพลาซึมเป็นน้ำ และมักไม่มีสี ในเซลล์ โพรแคริโอต (ซึ่งไม่มีนิวเคลียส) เนื้อในของเซลล์ทั้งหมดจะอยู่ในไซโทพลาซึม สำหรับเซลล์ ยูแคริโอต องค์ประกอบภายในนิวเคลียสจะแยกออกจากไซโทพลาซึม และมีชื่อเรียกแยกว่า นิวคลิโอพลาซึม




    2.ไมโทครอนเดรีย (mitochondria)
     
   ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane)




    3.ไรโบโซม (Ribosome

       สามารถพบได้ทั้งในเซลล์ของโปรคาริโอตและเซลล์ของยูคาริโอต มีลักษณะกลมและมีขนาดเล็กมาก ไม่มีเยื่อหุ้ม และมักมีจำนวนมากภายใน เซลล์(Cell) มีหน้าที่สำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนทั้งในเซลล์ของโปรคาริโอตและเซลล์ของยูคาริโอต โดยจะอ่านรหัสจาก ยีน(Gene)ในนิวเคลียส(Nucleus)ที่ถูกส่งออกมาในรูปแบบของ mRNA




    4.กอลจิบอดี(golgi body)

    หรือ กอลจิ คอมเพล็กซ์ (golgi complex)กอลจิ แอพพาราตัส (golgi apparatus)ดิกไทโอโซม (dictyosome) เป็นออร์แกเนลล์ ที่มีรูปร่างเป็นลักษณะคล้ายชามซึ่งเรียกว่า ซิสเทอร์นา (cisterna หรือ flattened sac) เป็นถุงแบนๆ หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกัน เป็นชั้นๆ มีจำนวนไม่แน่นอน มีประมาณ 5-10 ชั้น มักพบ 2-8 อัน ตรงปลายของถุงมักโป่งออก ถุงเหล่านี้มีผนัง 2 ชั้น หรือยูนิตเมมเบรนเหมือนๆ กับเยื่อหุ้มนิวเคลียส และเยื่อหุ้มเซลล์ และมีโครงสร้างคล้าย SER ภายในถุงมีของเหลวบรรจุอยู่ โดยทั่วไป จะพบในเซลล์สัตว์ ์มีกระดูกสันหลัง มากกว่าสัตว ์ไม่มีกระดูกสันหลัง รูปร่างของกอลจิบอดี จะเปลี่ยนอยู่เสมอ เป็นเพราะบางส่วนเจริญเติบโต บางส่วนจะหด และหายไป ด้านที่มีการเจริญเติบโต จะสร้างตัวเองโดย มีการรวมตัวของเวสิเคล จากเอนโดพลาสมิก เรทิคิวลัม กับซิสเทอร์น่า ซึ่งกอลจิบอดี มีหน้าที่ดังนี้

  - เก็บสะสมสาร ที่เซลล์สร้างขึ้น ก่อนที่จะปล่อยออกนอกเซลล์ ซึ่งสารส่วนใหญ่ เป็นสารโปรตีน มีการจัดเรียงตัว หรือจัดสภาพใหม่ ให้เหมาะกับสภาพของการใช้งาน

  - กอลจิ บอดี เกี่ยวข้องกับ การสร้างอะโครโซม (acrosome) ซึ่งอยู่ที่ส่วนหัวของสเปิร์ม โดยทำหน้าที่เจาะไข่ เมื่อเกิดปฏิสนธิ ในอะโครโซมจะมีน้ำย่อย ช่วยสลายเยื่อหุ้มเซลล์ไข่ 

  - เกี่ยวข้องกับ การสร้างนีมาโทซิส (nematocyst) ของไฮดร้า 

  - ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การสร้างเมือกทั้งในพืช และสัตว์ ในพืชกอลจิบอด ทำหน้าที่สร้างเมือก บริเวณหมวกราก (root cap) เพื่อให้รากชอนไชในดิน ได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่วนในสัตว์ เนื้อเยื่อบุผนังลำไส ้บุกระเพาะอาหาร สร้างเยื่อเมือกฉาบบริเวณผิว เพื่อป้องกันการย่อยของเอนไซม์ ในกระเพาะอาหาร และลำไส้ย่อยตัวกระเพาะ หรือลำไส้เอง 

  - ทำหน้าที่ขับสารประกอบต่างๆ เช่น ลิปิด ฮอร์โมน เอนไซม์ที่ส่วนต่างๆ ของเซลล์ สร้างขึ้นออกทางเยื่อหุ้มเซลล์ 

  - ในพืช ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การสร้างผนังเซลล์ ขึ้นมาใหม่ ในช่วงปลายของการแบ่งเซลล์ เมื่อจะสร้างเซลล์เพลท (cell plate) กอลจิบอดีจะมารวมกัน และสร้างถุงเล็กๆ มากมาย


    5.ร่างแหเอ็นโดพลาสมิค (endoplasmic reticulum, ER)

  เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมเป็นเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นถุงและท่อ เรียกว่า ซีสเทอร์นี เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมมีโครงสร้างเป็ฯระบบท่อที่มีการเชื่อมประสานกันทั้งเซลล์เยื่อหุ้มของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมเป็นส่วนที่ต่อเนื่องมาจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสภายในท่อมีของเหลวอยูด้วยเรียกว่า ไฮยาโลพลาสซึม หน้าที่ของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัม เกี่ยวข้องกับการผลิตโปรตีนสำหรับการเจริญหรือเป็นเอนไซม์สำหรับกระบวนการเมทาบอลิซึม(metabolism)


    ชนิดของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมภายในเซลล์มี ชนิด คือ 
        1.เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระ เป็น ER ที่เชื่อมต่ออยู่กับเยื่อหุ้มนิวเคลียสซึ่งผนังทางด้านนอกมีไรโบโซม มาเกาะอยู่จึงมีลักษณะขรุขระ หน้าที่ของ เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระ(RER)
  • - ลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆ ของเซลล์ เช่น สารพวกไขมัน,
  • - โปรตีสังเคราะโปรตีน เพราะที่ผิวด้านนอกของ RER มีไรโบโซมหน่วยใหญ่มาเกาะอยู่เมื่อมีการสังเคราะโปรตีนขึ้น โปรตีนที่ได้จะเคลื่อนที่ผ่านรูของหน่วยใหญ่ของไรโบโซมและผ่านเมมเบรนเข้าสู่ซีสเตอร์นี
  • - สังเคราะห์ไตรกลีเซอไรด์

      
 2. เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดเรียบ (SER) ป็น ER ที่ผิวด้านนอกของเยื่อหุ้มไม่มีไรโบโซมมาเกาะจึงมีลักษณะเรียบ SER มีลักษณะเป็นท่อหรือกระเปาะซึ่งท่อนี้จะเชื่อมต่อกับซีสเตอร์นีของ RER และเยื่อหุ้มนิวเคลียส  หน้าที่ของเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดเรียบ (SER)
  • - กำจัดสารพิษ เช่น การทำงานของเซลล์ตับ
  • - กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ โดย SER ในกล้ามเนื้อจะทำหน้าที่สะสมแคลเซยมไอออน
  • - เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายไกลโคเจน
  • - สังเคราะห์สเตอรอยด์ฮอร์โมน
  • - สะสมสารต่างๆ
  • - ลำเลียงสารไปสู่ส่วนต่างๆ ของเซลล์


    6.คลอโรพลาส (Chloroplast)

    เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติดมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติดไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่




    7.แวคิวโอล (Vacuole)


     เป็นช่อง ล้อมรอบด้วยเมมเบรนชนิดเยื่อยูนิตชั้นเดียว อยู่ภายใน เซลล์ยูแคริโอต(eukaryotic cell) บางชนิด พบในเซลล์พืชส่วนใหญ่และสัตว์หลายชนิด โดยแวคิวโอลในสัตว์มักเล็กกว่าในพืช แวคิวโอลสามารถทำหน้าที่เป็นที่เก็บ หลั่ง และถ่ายของเหลวภายในเซลล์ แวคิวโอลและสารภายในถือว่าแตกต่างจากไซโตพลาสซึม สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ

  1. Contractile vacuole จะพบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ในอาณาจักรโพรทิสตา ทำหน้าหน้าทีรักษาสมดุลของน้ำ
  2. Food vacuole บรรจุอาหาร พบในเซลล์เม็ดเลือดขาวบนสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้เราอาจแบ่งได้อีก เช่น Fat vacuole
  3. Sap vacuole จะเจอในเซลล์พืช ทำหน้าที่สะสมสีไอออน น้ำตาล กรดอะมิโน สะสมผลึกสารพิษในเซลล์


    8.ไลโซโซม (lysosome)

    ทำหน้าที่เป็นผู้ขนส่งเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลายโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต มีลักษณะเป็นถุง มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว พบในเซลล์สัตว์และพืชบางชนิด และเม็ดเลือดขาว เซลล์พืชบางชนิด เช่น กาบหอยแครง หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชที่ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น N (ไนโตรเจน) จึงใช้ไลโซโซมในการย่อยแมลง




   9.นิวเคลียส (nucleus)

    เป็นใจกลางหรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง มีหน้าที่การรักษาเสถียรภาพของยีนต่างๆและทำการควบคุมการทำงานต่างๆของเซลล์โดยผ่านการแสดงออกของยีน

 10.นิวคลีโอลัส (Nucleolus)

   ออร์แกเนลล์ (Organelle) คือ โครงสร้างย่อยที่มีขนาดเล็กอยู่ภายในเซลล์และมีหน้าที่เฉพาะ ออร์แกเนลล์ (Organelle) มักอยู่ภายในไซโตซอล (Cytosol) หรือ อยู่ติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) และ มักอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane)ของเซลล์ ออร์แกเนลล์ (Organelle) สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ และสามารถแยกให้บริสุทธิ์ได้โดยวิธีการกระบวนการปั่นแยกส่วนของเซลล์ (Cell Fractionation)



  11.โครโมโซม (Chromosome)

   โครโมโซม (Chromosome)เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA) รวมถึงหน่วยพันธุกรรมหรือยีน(gene) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และผิว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส ไมโอซิส I (miosis I)     เป็นระยะที่มีการแบ่งเซลล์ เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง สามารถแบ่งได้ดังนี้ ...