วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

เก็บเงิน 1000 บาทแรก (ฉบับนักเรียนนักศึกษา)

เก็บเงิน 1000 บาทแรก  (ฉบับนักเรียนนักศึกษา)


                จากที่ผู้เขียนเคยอ่านบทความไม่ว่าจะตาม เว็บไซตื หรือ เฟสบุ๊คก็ดี  ก็ได้เห็นบทความ วิธีเก็บเงินต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็บเงินด้วย แบงค์ 50 หรือ เก็บเงินเพิ่มตามจำนวนวัน เป็นเวลาตามกำหนด แล้วจะได้เงินหลักหมื่น

                แต่ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นบทความที่คอยช่วยแนะนำสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเก็บเงิน ผู้ที่ยังไม่มีรายได้อะไร เขาจะเอาเงินจำนวนมากขนาดนั้นมาเก็บจากไหน

                วันนี้ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสแบ่งปันวิธีเก็บเงิน 1000 บาทแรก ฉบับนักเรียนนักศึกษา และผู้ที่มีรนายได้น้อยมากๆ เพื่อให้เพื่อนๆ หรือผู้อ่านได้พอมีแนวทางในหัวสำหรับการเก็บเงินที่มันไม่ยากเกินไป และเห็นผลค่อนข้างเร็ว ด้วยเทคนิค 3 ข้อนี้


1.รู้จักรายรับกับรายจ่ายของตัวเอง

                 สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง เงินที่ได้จากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง แทบจะเป็นรายได้เพียงทางเดียวที่ได้รับ เพราะฉนั้นการจัดการรายรับรายจายจึงเป้เรื่องที่ค่อนข้างสำคัญ ตองแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจน ซึ่งผู้เขียนจะขอแบ่งรายจ่ายออกเป็นข้อๆดังนี้

                1.ค่าเดินทาง                2.ค่ากิน                3.ค่าชีต/การบ้าน                4.เงินเก็บ

1.1 ค่าเดินทาง เป็นเงินที่เราจะต้องเก็บไว้ใช้ในการเดินทางไปกลับจากบ้านถึงโรงเรียน เช่น ค่าโดยสารประจำทาง ค่ารถรายเดือน ค่าน้ำมันรถ ซึ่งรายจ่ายส่วนนี้ผู้เขียนมองว่า มันเป็นรายจ่ายที่ค่อนข้างนิ่งที่สุด (ถ้าไม่ถเลถไล ละนะ 555) เพราะฉนั้นผู้เขียนจึงล๊อกเงินส่วนนี้ไว้ก่อนเลย 1 ก้อน

1.2 ค่ากิน หลายๆคนคงหมดไปกับข้อนี้ไม่ใช่น้อย หรือว่า เงินที่เหลือทั้งหมดก็จะหมดไปกับตรงนี้ทั้งนั้น ผู้เขียนเองก็เคยประสบปัญหาการใช้เงินเติบในเรื่องการกินเหมือนกัน  ซึ่งจากประสบการณ์ล้ว เราจะหมดเงินส่วนนี้ไปกับ คำว่า 

ข้าว......0พิเศษ แล้วก็ แป๊ปซี่ขวด น้ำแข็งแก้วหนึ่ง

ข้าว 1 จานราคา 35 บาท ถ้าพิเศษ 40 บาท
น้ำเปล่า 6 บาท น้ำแป๊ปซี่ 12 บาท น้ำแข็ง 2 บาท

รวม 1 มื้อ ผู้เขียนใช้เงินไป 54 บาท แต่ถ้า ผู้เขียนสั่งข้าวะรรมดา และน้ำเปล่า ผู้เขียนจะใช้เงินแค่ 41 บาทเท่านั้น ต่ากัน ถึง 13 บาท

1.3 ค่าชีตกับการบ้าน  ข้อนี้ถ้าเป็นนักเรียนในระดับมัธยมจะยังไม่ค่อยเปลืองเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็น มหาลัยมันก็อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งวิธีแก้ไขมันก็มีอยู่หลายวิธี เช่น รวมกันกับเพื่อนไปถ่ายเอกสาร หรือว่า จะยืมรุ่นพี่หรือเพื่อนที้เรียนวิชานั้นๆ ไปแล้ว ถึงจะมองดูว่า เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้ามันหลายวิชา มันก็ประหยัดไปได้หลายร้อยนะเออ

1.4 เงินเก็บ เงินส่วนนี้เป็ยเงินที่เหลือจาก 3 ส่วนที่ผ่านมา มันอาจจะไม่ได้มากมายในช่วงแรกๆ แต่มันก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเก็บเงิน 100 บาทแรก 1000 บาทแรกอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่เมื่อทำมันได้แล้วครั้งหนึ่งครั้งต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยาก

2.เก็บเงินแบ่งใช้

                ข้อนี้จะขอพูดถึงในส่วนของการเก็บเงิบเงินแบบเฉพาะเจาะจง เพราะว่า จะเก็บเงินได้มากน้อยไม่สำคัญเท่ากับเรารักษางินเอาไว้ได้หรือเปล่า นั่นเอง
                

                 สำหรับนักเรียนนักศึกษา ที่มีรายรับทางเดียวที่ได้จากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ให้ลืมวิธีการเก็บเงินแบบที่เราเห็นกันคุ้นตาอย่างเก็บเงินด้วยแบ็งค์ 50 หรือเก็บเงินตามวันนี้ไปก่อนเลย เมื่อเรามีเงินน้อย เราก็จะต้องเริ่มจากเงินน้อยๆที่เรามี  โดยวิธีการที่ผู้เขียนใช้คือการเก็บเหรียญ ใช่แล้วครับ ก็บเหรียญ ซึ่งแค่เก็บเหรียญใส่กระปุก ธรรมดาๆ มันไม่ได้ช่วยให้เก็บเงินอยู่ได้แน่นอน ผู้เขียนจึงใช้วิธีการเก็บแยกเหรียญ 1 บาท 2 บาท 5 บาท 10 บาท ออกจากกัน  โดยเหรียญที่มีความสำคัญที่สุด ก็คือเหรียญ 10 บาท
                
                 ถามว่า ทำไม้องเก็บแยกเหรียญ เพราะวาเดิมทีการเก็บเหรียญรวมกันกระปุกเดียว ถ้าเราแค่กระปุก 1 ครั้ง เงินเกือน ทั้งหมด ก็จะหายไป ตุถ้าเราเก็บแยก เงินเราก็จะหายไปแค่ ที ละกระปุก และจำนวนเงินที่หายไปมันก็จะน้อยลงไปมาก
เช่น

ฉุกเฉินครั้งที่ 1 เราใช้เหรียญ 1 บาท จนหมด เราก็ยังมี เหรียญ 2บาท 5 บาท 10 บาทอยู่
ฉุกเฉินครั้งที่2 เราใช้เหรียญ 2 บาท เราก็จะยังมี เหรียญ 5 บาท 10 บาท และ 1 บาทที่เก็บเพิ่มเข้ามา

เป็นอย่างงี้ไปเรื่อยๆ แต่ เหรียญ 10 บาทจะต้องเป็นเหมือนกับปราการด่านสุดท้าย เพราะมันมีค่า และจำนวนมากที่สุดในบรรดาเหรียญทุกๆเหรียญที่มี

3. วินัยคือสิ่งสำคัญ

                ในการเก็บเงิน วินัยการใช้เงินถือว่า สำคัญมาก เพราะการมีวินัยจะทำให้เรารู้จักเก็บเงิน และจะเก็บเงินได้มากขึ้นเรื่อยๆ

               
                ถ้าเราทำได้ตามวิธีข้างต้นและสามารถเก็บเหรียญได้อย่างน้อยวันละ 20 บาท 1 เดือน เราก็จะมี เงินเก็บ 600 บาท และสองเดือน เราก้จะมีเงินเก็บ 1200 บาทแล้ว 

                มาถึงจุดนี้หลายๆคนก็คงพอจะมีแนวทางการเก็บเงินไว้ในหัวกันแล้ว ผู้เขียนจึงขอฝากเรื่องการใช้เงินไว้อีกเรื่อง เวลาที่เราอยากได้อะไร คนเราจะไม่ค่อยใช้สติในการตัดสินใจ จะใช้ความอยากเป็นใหญ่ จนลืมไปว่า ที่ซื้อมานั่นมันจะใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงไหน จึงอยากฝากว่า ก่อนสื้ออะไร ควรตัดสินใจดีๆ ซื้อแต่ของที่มีประโยชน์กับเราจริงๆ ไม่งั้นอาจจะเสียเงินเปล่าได้นะ
                
                 ขอบคุณทุกคนที่อ่านกันมาจนถึงจุดนี้ ถ้าหากเพื่อนๆ คนไหนมีคำแนะนำติชม หรืออยากให้เขียนเรื่องอะไร ก็ลองคอมเม๊นต์ พูดคุยกันได้ที่ด้สนล่างเลยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส ไมโอซิส I (miosis I)     เป็นระยะที่มีการแบ่งเซลล์ เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง สามารถแบ่งได้ดังนี้ ...