วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

เก็บเงิน 1000 บาทแรก (ฉบับนักเรียนนักศึกษา)

เก็บเงิน 1000 บาทแรก  (ฉบับนักเรียนนักศึกษา)


                จากที่ผู้เขียนเคยอ่านบทความไม่ว่าจะตาม เว็บไซตื หรือ เฟสบุ๊คก็ดี  ก็ได้เห็นบทความ วิธีเก็บเงินต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็บเงินด้วย แบงค์ 50 หรือ เก็บเงินเพิ่มตามจำนวนวัน เป็นเวลาตามกำหนด แล้วจะได้เงินหลักหมื่น

                แต่ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นบทความที่คอยช่วยแนะนำสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเก็บเงิน ผู้ที่ยังไม่มีรายได้อะไร เขาจะเอาเงินจำนวนมากขนาดนั้นมาเก็บจากไหน

                วันนี้ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสแบ่งปันวิธีเก็บเงิน 1000 บาทแรก ฉบับนักเรียนนักศึกษา และผู้ที่มีรนายได้น้อยมากๆ เพื่อให้เพื่อนๆ หรือผู้อ่านได้พอมีแนวทางในหัวสำหรับการเก็บเงินที่มันไม่ยากเกินไป และเห็นผลค่อนข้างเร็ว ด้วยเทคนิค 3 ข้อนี้


1.รู้จักรายรับกับรายจ่ายของตัวเอง

                 สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง เงินที่ได้จากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง แทบจะเป็นรายได้เพียงทางเดียวที่ได้รับ เพราะฉนั้นการจัดการรายรับรายจายจึงเป้เรื่องที่ค่อนข้างสำคัญ ตองแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจน ซึ่งผู้เขียนจะขอแบ่งรายจ่ายออกเป็นข้อๆดังนี้

                1.ค่าเดินทาง                2.ค่ากิน                3.ค่าชีต/การบ้าน                4.เงินเก็บ

1.1 ค่าเดินทาง เป็นเงินที่เราจะต้องเก็บไว้ใช้ในการเดินทางไปกลับจากบ้านถึงโรงเรียน เช่น ค่าโดยสารประจำทาง ค่ารถรายเดือน ค่าน้ำมันรถ ซึ่งรายจ่ายส่วนนี้ผู้เขียนมองว่า มันเป็นรายจ่ายที่ค่อนข้างนิ่งที่สุด (ถ้าไม่ถเลถไล ละนะ 555) เพราะฉนั้นผู้เขียนจึงล๊อกเงินส่วนนี้ไว้ก่อนเลย 1 ก้อน

1.2 ค่ากิน หลายๆคนคงหมดไปกับข้อนี้ไม่ใช่น้อย หรือว่า เงินที่เหลือทั้งหมดก็จะหมดไปกับตรงนี้ทั้งนั้น ผู้เขียนเองก็เคยประสบปัญหาการใช้เงินเติบในเรื่องการกินเหมือนกัน  ซึ่งจากประสบการณ์ล้ว เราจะหมดเงินส่วนนี้ไปกับ คำว่า 

ข้าว......0พิเศษ แล้วก็ แป๊ปซี่ขวด น้ำแข็งแก้วหนึ่ง

ข้าว 1 จานราคา 35 บาท ถ้าพิเศษ 40 บาท
น้ำเปล่า 6 บาท น้ำแป๊ปซี่ 12 บาท น้ำแข็ง 2 บาท

รวม 1 มื้อ ผู้เขียนใช้เงินไป 54 บาท แต่ถ้า ผู้เขียนสั่งข้าวะรรมดา และน้ำเปล่า ผู้เขียนจะใช้เงินแค่ 41 บาทเท่านั้น ต่ากัน ถึง 13 บาท

1.3 ค่าชีตกับการบ้าน  ข้อนี้ถ้าเป็นนักเรียนในระดับมัธยมจะยังไม่ค่อยเปลืองเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็น มหาลัยมันก็อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งวิธีแก้ไขมันก็มีอยู่หลายวิธี เช่น รวมกันกับเพื่อนไปถ่ายเอกสาร หรือว่า จะยืมรุ่นพี่หรือเพื่อนที้เรียนวิชานั้นๆ ไปแล้ว ถึงจะมองดูว่า เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้ามันหลายวิชา มันก็ประหยัดไปได้หลายร้อยนะเออ

1.4 เงินเก็บ เงินส่วนนี้เป็ยเงินที่เหลือจาก 3 ส่วนที่ผ่านมา มันอาจจะไม่ได้มากมายในช่วงแรกๆ แต่มันก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเก็บเงิน 100 บาทแรก 1000 บาทแรกอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่เมื่อทำมันได้แล้วครั้งหนึ่งครั้งต่อไปก็ไม่ใช่เรื่องยาก

2.เก็บเงินแบ่งใช้

                ข้อนี้จะขอพูดถึงในส่วนของการเก็บเงิบเงินแบบเฉพาะเจาะจง เพราะว่า จะเก็บเงินได้มากน้อยไม่สำคัญเท่ากับเรารักษางินเอาไว้ได้หรือเปล่า นั่นเอง
                

                 สำหรับนักเรียนนักศึกษา ที่มีรายรับทางเดียวที่ได้จากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ให้ลืมวิธีการเก็บเงินแบบที่เราเห็นกันคุ้นตาอย่างเก็บเงินด้วยแบ็งค์ 50 หรือเก็บเงินตามวันนี้ไปก่อนเลย เมื่อเรามีเงินน้อย เราก็จะต้องเริ่มจากเงินน้อยๆที่เรามี  โดยวิธีการที่ผู้เขียนใช้คือการเก็บเหรียญ ใช่แล้วครับ ก็บเหรียญ ซึ่งแค่เก็บเหรียญใส่กระปุก ธรรมดาๆ มันไม่ได้ช่วยให้เก็บเงินอยู่ได้แน่นอน ผู้เขียนจึงใช้วิธีการเก็บแยกเหรียญ 1 บาท 2 บาท 5 บาท 10 บาท ออกจากกัน  โดยเหรียญที่มีความสำคัญที่สุด ก็คือเหรียญ 10 บาท
                
                 ถามว่า ทำไม้องเก็บแยกเหรียญ เพราะวาเดิมทีการเก็บเหรียญรวมกันกระปุกเดียว ถ้าเราแค่กระปุก 1 ครั้ง เงินเกือน ทั้งหมด ก็จะหายไป ตุถ้าเราเก็บแยก เงินเราก็จะหายไปแค่ ที ละกระปุก และจำนวนเงินที่หายไปมันก็จะน้อยลงไปมาก
เช่น

ฉุกเฉินครั้งที่ 1 เราใช้เหรียญ 1 บาท จนหมด เราก็ยังมี เหรียญ 2บาท 5 บาท 10 บาทอยู่
ฉุกเฉินครั้งที่2 เราใช้เหรียญ 2 บาท เราก็จะยังมี เหรียญ 5 บาท 10 บาท และ 1 บาทที่เก็บเพิ่มเข้ามา

เป็นอย่างงี้ไปเรื่อยๆ แต่ เหรียญ 10 บาทจะต้องเป็นเหมือนกับปราการด่านสุดท้าย เพราะมันมีค่า และจำนวนมากที่สุดในบรรดาเหรียญทุกๆเหรียญที่มี

3. วินัยคือสิ่งสำคัญ

                ในการเก็บเงิน วินัยการใช้เงินถือว่า สำคัญมาก เพราะการมีวินัยจะทำให้เรารู้จักเก็บเงิน และจะเก็บเงินได้มากขึ้นเรื่อยๆ

               
                ถ้าเราทำได้ตามวิธีข้างต้นและสามารถเก็บเหรียญได้อย่างน้อยวันละ 20 บาท 1 เดือน เราก็จะมี เงินเก็บ 600 บาท และสองเดือน เราก้จะมีเงินเก็บ 1200 บาทแล้ว 

                มาถึงจุดนี้หลายๆคนก็คงพอจะมีแนวทางการเก็บเงินไว้ในหัวกันแล้ว ผู้เขียนจึงขอฝากเรื่องการใช้เงินไว้อีกเรื่อง เวลาที่เราอยากได้อะไร คนเราจะไม่ค่อยใช้สติในการตัดสินใจ จะใช้ความอยากเป็นใหญ่ จนลืมไปว่า ที่ซื้อมานั่นมันจะใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงไหน จึงอยากฝากว่า ก่อนสื้ออะไร ควรตัดสินใจดีๆ ซื้อแต่ของที่มีประโยชน์กับเราจริงๆ ไม่งั้นอาจจะเสียเงินเปล่าได้นะ
                
                 ขอบคุณทุกคนที่อ่านกันมาจนถึงจุดนี้ ถ้าหากเพื่อนๆ คนไหนมีคำแนะนำติชม หรืออยากให้เขียนเรื่องอะไร ก็ลองคอมเม๊นต์ พูดคุยกันได้ที่ด้สนล่างเลยครับ

วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561

ตั้งแต่ 1 จนถึง 4.0 อาชีพเรา เปลียนไปขนาดไหน ?


ตั้งแต่ 1 จนถึง 4.0 อาชีพเรา เปลียนไปขนาดไหน ?

                เนื่องด้วยตอนนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคของ 4.0 อย่างที่เราได้ยินกันในสื่ออย่างหนาหู ผู้เขียนจึงเกิดคำถามว่า อะไรคือ การทำงานในยุค 4.0 ยุคที่มีเทคโนโลยีเพียบพร้อมเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส และ มันจะต่างกับ ในยุคของ 1.0 - 3.0 อย่างไร ?

                ผู้เขียนจึงนึกย้อนไปถึงอดีตว่า การทำงานของคนไทยสมัยก่อนเป็นแบบไหนอย่างไร ก็จะสามารถกรุ๊ปได้เป็น ช่วงเวลา คือ

1.0 ยุคของการแลกเปลี่ยนสินค้าทางการเกษตร

            ยุคนี้เป็นยุคของการทำไรไถนาปลูกผัก เพื่อการดำรงชีวิต เป็นยุคที่เรานำผลผลิตมาแลกกันโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง (อารมประมานฉากตลาดในหนังพีดรียดบ้านเราที่ที่จะมีชาวบ้านเอาผักเอาปลามาขาย) เป็นยุคที่คนเราหาเงินแบบเรียบง่าย

2.0 ยุคของการรับราชการ
          อาชีพที่มีเกียตรที่สุด คงหนีไม่พ้นการรับราชการ ไม่ว่าจะเป็นทหาร หรือว่า ขุนนางในวัง การรับราชการเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงค่อนข้างสูงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้พ่อแม่เริ่มสอนลูกว่า ให้เรียนสูงๆโตมาจะได้เป็นเจ้าคนนายคน (555+) จนถึงปัจจุบัน

3.0 ยุคของพ่อค้าและนายทุน

            เป็นยุคที่การค้าเริ่มรุ่งเรื่อง มีการติดต่อซื้อขายผ่านพ่อค้าคนกลางและนายทุน มีการเกร็งกำไร และส่งออกินค้ามากขึ้น เรียกว่า พ่อค้าเป็นอาชีพที่รวยมากในสมัยนั้น และอาชีพที่ฮอตอิตไม่แพ้พ่อค้าในสมัยนั้น ก็คือ เสมียน เพราะว่า ในยุคของการค้า เสมียนถือว่าขาดไม่ได้ ในการทีจะจดราคาสินค้า ทำรายรับรายจ่าย หรือว่าคัดลอกข้อมูลต่างๆ สำหรับคนที่เป็นเสมียนสมัยนั้น ถือว่าค่อนข้างมีหน้ามีตาเลยทีเดียว

3.5 ยุคของคนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่มีเงินเดือนแพง

            แน่นอนว่าการมีเงินมากทำให้คนเราสุขสบาย การมีเงินเดือนสูงๆ จึงเป็นคำตอบยอดฮิต ไม่ว่าอาชีพอะไรที่มีเงินเดือนสูงลิปคนก็จะแห่กันไปเรียน 1 ในนั้นคงหนีไม่พ้น หมอ อีกทั้ง อาชีพหมอยังเป็นอาชีพที่ผู้ใหญ่ในสังคมไทยค่อนข้างจะใช้เป็นเครื่องการันตรีว่าประสบความสำเร็จอีกด้วย (ดูจากป้ายเชิดชู ตามสถาบันต่างๆ)

4.0 ยุคที่เราสามารถหารายได้แค่เพียงปลายนิ้ว

                จากที่รู้กันดีว่าโลกของเรามันไร้พรหมแดนไปแล้วด้วยอำนาจของเทคโนโลยี เราสามารถติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ที่เรารุ้จักเพียงแค่เรามี อินเตอร์เน็ต ทำให้บริบทการทำงานของสังคมไทยเปลี่ยนไป จาการค้าขายแบบซึ่งหน้า หันมาเปลียนเป็นตลาดออนไลน์มากขึ้น เราสามารถคุยงานกันได้จากที่บ้าน ไม่ต้องฝ่ารถติดไปที่ออฟฟิต เราสามารถหารายได้จากหลายช่องทางจากอินเตอรืเน้ต

            เห็นไหมครับว่า การทำงานในยุค 4.0 จะเป็นยุคที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้ามาอำนวยความสดวกในการทำงานและการใช้ชีวิตทำให้เราสามารถหาความรู้และดอกาสได้มากขึ้นหากเราใช้ เทคโนโลยีอย่างถูกวิธี ทั้งนี้นทั้งนั้น มีข้อดี ก็ต้องมีข้อเสีย จึงอยากจะให้ทุกๆคนใช้อินเตอร์เน็ตอย่างระมัดระวังจะได้ไม่ตกเป้นเยื่อของมิจชีพนะครับ และก้ต้องขอขอบคุณที่อ่านมาถึงจุดนี้ ถ้าชอบถูกใจหรือว่ามีขอมูลผิดพลาด เห็นต่าง ก็อย่าลืมมาคอมเม๊นต์พูดคุยและติชมกันได้ครับ....

วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

การถูกเนิฟค่าแรง แก้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียงในแบบ 4.0


การถูกเนิฟค่าแรง แก้ด้วยเศรษฐกิจพอเพียงในแบบ 4.0 


จากประสบการณ์ การทำงาน หลายๆอย่างในช่วงวัยเรียน ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มันทำให้เห็นข้อดีและ ข้อเสียของงานแต่ละแบบ เนื่องด้วยผู้เขียนยังเรียนอยู่ และต้องการที่จะหารายได้เสริมระหว่างเรียน จึงต้องทำงานพิเศษบ้าง ในช่วงแรกๆ เราก็เริ่มจากงานง่ายๆแถวบ้าน ค่าแรงตอนแรก อยู่ที่ 350 ถึง 400 บาท แต่ตอนหลัง ค่าแรง อยู่ที่ 300 ถึง 350 จะเห็นว่า ค่าแรงเราถูกเนิฟลงมาจากเดิม 50 บาท แต่ในขณะที่รายจ่ายเราเพิ่มขึ้น

ผู้เขียนจึงคิดว่า จะทำอย่างไร ในเมื่อรายจ่ายเพิ่มขึ้น แต่รายรับกลับลดลง จึงคิดว่าการทำงานเพิ่มจากเดิม จึงเป็นสิ่งจำเป็น

ต่อมาผู้เขียนได้มีโอกาสไปทำงานในโรงงานอยู่ช่วงหนึ่ง ทำให้เข้าใจระบบการจ่ายเงินของโรงงาน และมั่นใจได้เลยว่า ค่าแรงของเราจะไม่ถูกเนิฟลงมาแน่นอน เพราะระบบโรงงานจะเป็นระบบที่มีรายลักอักษรชัดเจน เช็คการทำงานตามเวลาเข้าออก แต่ว่าการทำงานค่อนข้างที่จะไม่เป็นอิสระเท่าที่ควร

เมื่อผู้เขียนได้เข้าเรียนมหาลัย และไม่ได้ทำงานโรงงาน แต่ก็หารายพิเศษจากการสอนพิเศษในโรงเรียนกวดวิชาแห่งหนึ่ง แล้วมันก็เหมือนกับหนังฉายซ้ำ ที่เราโดนเนิฟค่าแรงจากลงมาอีกรอบ ผู้เขียนจึงรู้สึกว่า ไม่ว่าเราจะทำงานอะไร ที่ไม่มีการเซ็นสัญญาเป็นรายลักอักษรนั้นมีโอกาสสูงมากที่เราจะถูกเนิฟค่าแรง หรือถูกโกงสูง

จนผู้เขียนเริ่มคิดแล้วว่า เราจะทำยังไงให้ค่าแรงไม่ถูกเนิฟ และเป็นงานที่ค่อนข้างอิสระไม่เหมือนกับการทำงานในโรงงาน โดยคียเวิร์ดของปัญหาคือ "รายได้มั่นคงแบบโรงงาน กับอิสระเหมือนฟรีแลนซ์"

ผู้เขียนได้ย้อนคิดไปถึง เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ที่แบ่งที่ดินเป็น 30 30 30 10 คือ สวน ไร่ บ่อ บ้าน ตามลำดับ แต่าว่าอัตตราส่วนของการทำการเกษตรนั้นแบ่งไปตามความเหมาะสม
(อ้าวว แล้วเกี่ยวกับเรื่องเนิฟค่าแรงยังไง ?)

ผู้เขียนไม่มีทั้งที่ดินที่จะทำการเกษตรและเวลามากพอจะไปทำไร่ปลูกผัก มันเป็นโจทย์ที่ยากมาก สำหรับผู้เขียนว่าจะทำยัง

ผู้เขียนรู้ว่า เศรษบกิจพอเพียงคือการประยุคใช้สิ่งที่อยุ่รอบตัวให้เข้ากับชีวิตประจำวัน "แล้วประจำวันของเราทำอะไรได้บ้าง ในยุคของ 4.0 ?"

ใช่แล้ว 4.0 !! ยุค 4.0 เป็นยุคที่การสื่อสารของประเทศแทบจะเป็นแบบดิจิต้อล เราสามาถรติดต่อกับใครก็ได้ผ่านหน้าคอมที่มีอินเตอร์เน็ต คำถามคือ "เราจะทำงานหน้าคอมได้ไหม ? และถ้าเศรษฐกิจพอเพียงในแบบ 4.0 จะเป็นอย่างไร ?"

ผู้เขียนได้ตกตะกอนความคิดอยู่พักใหญ่ว่าจะทำยังไงกับชีวิต จนได้คำตอบว่า "จะขายสติ๊กเกอร์ไลน์"

เนื่องด้วยพอมีความสามารถในการวาดรูป และใช้คอมพิวเตอร์อยู่บ้าง เลยอย่ากจะลองทำดู โดยผู้เขียนมีเป้าหมายไว้ว่า เราจะต้องมีรายได้แบบ passive income จากการขายสติ๊กเกอร์ เฉลี่ยให้ได้วันละ 200 บาท ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ยาก มาก ๆ กับการทำให้มีรายได้เฉลี่ยจาก ไลน์ วันละ 200 บาท

ผู้เขียนจึงกลับไปทางเดิมคือการสอนพิเศษ และก็โดนเนิฟเหมือนเดิม (ย่อมโง่ละ) ทำให้ผู้เขียนมีรายได้จากการสอนพิเศษซึ่งเป็นแบบ active income อาทิตย์ละประมาน 1400 กว่าบาท

จึงทำตอนี้ผู้เขียนมีรายได้จาก 2 ทางคือ ทั้งสอนพิเศษและขายสติ๊กเกอร์ไลน์

มันดูคล้ายๆกับหลักการณ์ของเศรษฐกิจพอเพียงไหมครับ ที่รายได้อย่างหนึ่งลด แต่รายได้อีกอย่างยังคงอยู่เหมือนเดิม

และผู้เขียนจึงคิดว่า "เศรษฐกิจพอเพียงในยุค4.0 คือ การที่เรามีรายได้แบบ active income และ passive income ควบคู่กันไป"


ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส ไมโอซิส I (miosis I)     เป็นระยะที่มีการแบ่งเซลล์ เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง สามารถแบ่งได้ดังนี้ ...