วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ทฤษฎี หมวก 6 ใบ

หมวก 6 ใบ คืออะไร ?

    คือการคิดโดย จำแนก และจัดระเบียบความคิดออกเป็น 6 แบบเพื่อให้การคิดนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เทคนิคนี้เรียกว่า การคิดแบบหมวก 6 ใบ โดยผู้คิดค้นวิธีนี้คือ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน

White Hat หมวกสีขาว 
    เป็นสีแห่งความยุติธรรมก็ว่าได้ การคิดแบบหมวกสีขาวคือการคิดโดยใช้เหตุ จำนวน ตัวเลข โดยอาศัยข้อเท็จจริง ปราศจากการลงความคิดเห็น คือต้องการเพียงข้อเท็จจริงเท่านั้น    

Red Hat หมวกสีแดง 

    หมวกสีนี้จะตรงกันข้ามกับหมวกสีขาว ซึ่งหมวกสีแดงนี้ จะเป็นการคิดที่มาจากความรู้สึก โดยตัดสินจากความชอบของตนเองว่า ดี ไม่ดี สวย ไม่สวย โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประกอบ

Black Hat หมวกสีดำ 

    เมื่อนึกถึงสีดำ ความเศร้าคงเป็นของที่คู่กัน การคิดแบบหมวกสีดำคือการคิดที่เราต้องมองอุปสรรค ว่าคุ้มค่าที่เราจะเลือกหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ทำให้การคิดแบบหมวกสีดำจะมีความรอบคอบมากๆ

Yellow Hat หมวกสีเหลือง 

    แน่นอนว่าสีเหลือจะต้องเป็นสีที่ตรงกันข้ามกับสีดำ เป็นสีที่สว่างสดใส หมวกสีเหลืองจะเป็นการมองโลกแบบคิดบวก มองเห็นข้อดีของสิ่งต่างๆ รวมถึงการพัฒนาและสร้าสรรค์สิ่งใหม่ๆอีกด้วย

Green Hat หมวกสีเขียว 

    หมวกสีเขียวที่สแดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆออกมา ไปในทางที่ดีขึ้น

Blue Hat หมวกสีน้ำเงิน 

    สีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบ หมวกสีนี้เกี่ยวกับการควบคุมวางแผน การบริหารกระบวนการคิด หรือการจัดระเบียบการคิด ทำให้การทำงานมีลำดับขั้นตอนก่อนหลัง





แผนการสอน แบบ 5E คืออะไร ?


    แผนการสอนแบบ 5E

    คือ แผนการสอนที่ สสวท. เป็นผู้กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน ของวิชาวิทยาศาสตร์ เมื่อปี 2546 
 
    โดยที่คำว่า 5E นั้นมาจากชื่อขั้นตอนการสอนทั้ง 5 ขั้นได้แก่

Engagement  คือขั้นสร้างความเข้าใจ หรือขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นนี้ถือได้ว่าเป็นขั้นที่สำคัญมาก เพราะถ้าเรานำเข้าสู่บทเรียน
                  ได้ น่าเบื่อหรือจำเจ มันอาจจะทำให้คาบเรียนนั้นทั้งคาบมีแต่ความน่าเบื่อและนักเรียนของเราก็จะไม่เกิดการ
                  เรียนรู้ ซึ่งการนำเข้าสู่บทเรียนจะเริ่มจากการ หยิบยกเอาประเด็นที่นักเรียนสงสัยสนใจ เชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาที่จะ
                  สอนของวันนี้ ซึ่งรูปแบบก็จะแตกต่างกันไปตามระดับชั้นและโอกาส

                  เมื่อมีประเด็นที่จะศึกษาแล้ว จากนั้นก็จะเป็นการอภิปรายร่วมกัน เพื่อจะกำหนดของเขตและเนื้อหาของเรื่องที่                    จะศึกษาในคาบนั้นๆ ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะอาศัยความรู้จากประสบการณ์เดิม เพื่อต่อยอดไปสู่ความรู้ใหม่

Exploration   คือขั้นสำรวจและคั้นหา ซึ่งเมื่อเราเข้าใจประเด็นที่จะสึกษาแล้ว เราก็ต้องวางแนวทางเพื่อที่จะตรวจสอบ 
      สมมุติฐาน ความสงสัยของประเด็นที่เราสนใจข้างต้น โดยเลือกวิธีการที่เราจะสามารถตรวจสอบสมมุติฐานที่เรา                    เช่น การสำรวจ การสบค้น การทดลอง

Explanation   คือขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ซึ่งเมื่อเราได้ข้อมูลเรื่องที่เราศึกษาเพียงพอแล้ว คราวนี้ก็มาถึงขั้นตอนที่เราจะ
                  ต้อง อธิบายและลงข้อสรุป โดยการสรุปผลนั้นไม่จำเป็้นต้องเป็นความเรียงเสมอไป แต่อาจจะเป็น ผังความ
                  คิด กร๊าฟ แบบจำลอง โดยที่ผลสรุปที่สร้างนั้นจะเป็นส่วนช่วยที่ทำให้เกิดการเรียนรู้

Elaboration    คือขั้นขยายความรู้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ขยายความรู้ออกมาให้กว้างขึ้นจากเรื่องที่เรียน เช่นการเชื่อมโยงประเด็นที่
                  ศึกษาให้เข้ากับชีวิตประจำวัน

Evaluation    คือขั้นประเมิน ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ประเมินผู้เรียนว่า รู้อะไรบ้างมากน้อยแค่ไหน อย่างไร จากเรื่องที่เรียนมาใน                      คาบ ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อสงสัย หรือโต้แย้งที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ต่อๆไป
    ซึ่ง 5 ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้ย ครู มีหน้าที่ ที่จะอำนวยความสะดวกนักเรียน กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ใช่เป็นผู้ป้อนความรู็ให้กับนักเรียน


17/10/60




ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส ไมโอซิส I (miosis I)     เป็นระยะที่มีการแบ่งเซลล์ เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง สามารถแบ่งได้ดังนี้ ...