วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส

ไมโอซิส I (miosis I)

    เป็นระยะที่มีการแบ่งเซลล์ เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง สามารถแบ่งได้ดังนี้

1.โพรเฟส I (Prophase I)

    เป็นระยะที่ใช้เวลานานที่สุด การแบ่งเซลล์นี้จะเหมือนกับระยะโพรเฟสของ ไมโทซิส (Mitosis) แต่ต่างกันที่ในระยะนี้ของ โพรเฟส I จะมีการแนบชิดติดกันระหว่างโครโมโซม เรียกว่า ไคแอสมา (Chiasma) การแนบชิดติดกันของโครโมโซมนี้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของยีนระหว่างกันเรียกว่า ครอสซิ่งโอเวอร์ (Crossing Over)

2.เมตาเฟส I (Metaphase I)

    เส้นใยสิปเดิลไฟเบอร์ จะยึดคู่ของโครโฒโวมใหเรียงตัวอยู่กลางเซลล์

3.แอนนาเฟส I (Annaphase I)

    เส้นใยสปินเดิลไฟเบอร์ จะหดตัวลงแล้วดึงให้โครโมโซมแยกจากกันอยู่คนละด้านของเซลล์

4.เทโลเฟส I (Telophase I)

    มีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบโครโมโซม และโครโมโซมเริ่มคลายตัวกลายเป็น โคมาทิน หลังจากนั้นจะมีการแบ่งไซโทพลาสซึ่ม จะไดเซลล์ใหม่ขึ้นมา 2 เซลล์ ที่มีจำนวนลดลงครึ่งหนึ่ง




ไมโอซิส II (miosis II)

    เป็นการแบ่งเซลล์ต่อจากไมโอซิส I การแบ่งเซลล์ ระยะนี้จะเป็นการรักษาจำนวนโครโมโซมให้คงที่ ผลที่ได้จากการแบ่งเซลล์ระยะนี้จะได้เซลล์ ใหม่ขึ้นมา 4 เซลล์ (เร่มจากเซลล์ตั้งต้น 2 เซลล์) ขั้นตอนการแบ่งมีดังนี้

1.โพรเฟส II (ProPhase II) 

    เยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายตัว โครมาทินหดตัวกลายเป็นโครโมโซม เซนทริโอล แยกไปอยู่คนละด้านของเซลล์

2.เมตาเฟส II (Metaphase II)

    เส้นใยสปินเดิลไฟเบอร์ จับกับโครโมโซมตรงเซนโทรเมียร์ และยึดโครโมโซมให้อยู่ตรงตัวอยู่กลางเซลล์

3.แอนนาเฟส II (Annaphase II)

   เส้นใยสินเดิลไฟเบอร์จะหดตัวลงแล้วดึงโครมาทิดให้แยกจากหันไปอยู่คนละด้านของเซลล์

4.เทลโเฟส II (Telophaes II)

   มีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบโครมาทิด และโครมาทิดเริ่มคลายตัวกลายเป็น โครมาทิน หลังจากนั้นมีการแบ่งไซโทพลายซึม  จะได้เซลล์ใหม่ขึ้นมา 4 เซลล์ ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม


ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโทซิส

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโทซิส

1.อิเตอร์เฟส (Interphase)

   เป็นระยะที่เซลล์ สะสมพลังงานเพื่อการแบ่งเซลล์ ขั้นตอนนนี้ตึงมีกระบวนการ เมตาบอลิซึ่มสูง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ

    - ระยะ G 1 (G1 Phase) เป็นระยะที่เซลล์มีการสร้าง RNA และโปรตีนขึ้นมา

    - ระยะ S  (S Phase) เป็นระยะที่มีความสำคัญมาก เพราะมีการจำลองโครโมโซม และ DNA ขึ้นมาอีก 1 ชุด ทำให้ระยะนี้เซลล์จะมีโครโมโซมเป็น 2 เทา่ ของโครโมโวมปกติ

    - ระยะ G 2 (G2 Phase) เป็นระยะที่ไม่มีการสร้าง DNA แต่ว่า ยังมีการสร้าง RNA และโปรตีนอยู่ เป็นระยะสุดท้ายของอินเตอร์เฟส กอนเข้าสู่ระยะการแบ่งเซล์

2.โพรเฟส (Prophase) 

    ระยะนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียสจะเริ่มสลายไป โครมาทินจะหดตัวเป็นเกลียว และหนาขึ้นคล้ายตัว x เรียกว่า โครโมโซม และเซนตริโอล (Centriole) จะแยกออกไปอยู่คนละด้านของเซลล์

3.เมตาเฟส (Metaphase)

     ระยะนี้ เซนตริโอลจะสร้างเส้นใย สปินเดิลไฟเบอร์ (Spindlefiber) ขึ้นมาเพื่อยึดโครโมโซมไว้ให้เรียงตัวอยู่กลางเซลล์บริเวณตำแหน่งเซนโทรเมียร์ ระยะนี้ สามารถมองเห็นโ๕รโมโซมได้อย่างชัดเจน จึงเป็นระยะที่ใช้นับจำนวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต

4.แอนนาเฟส (Anaphase)

    ระยะนี้สปินเดิลไฟเบอร์ จะหดตัวทำให้ดครมาทิดแยกออกจากกัน ไปอยู่คนละด้านของเซลล์

5. เทโลเฟส (Telophaes)

    ระยะนี้โครมาทิดจะคลายตัวออกจากกัน กลับมาเป็นโครมาทินเหมือนเดิม และการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบ โคครมาทินเอาไว้ ทำให้ระยะนี้ของเซลล์ จะมองเห็นว่า มี 2 นิวเคลียส หลังจากนั้นจะมีการแบ่งไซโทพลาซึ่มออกจากกัน ทำให้ได้เซลล์ใหม่ขึ้นมา 2 เซลล์ ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม






วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การออสโมซิส (Osmosis)

การออสโมซิส (Osmosis)

    คือ การแพร่ของน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ จากบริเวณที่มี ความเข้มข้นน้อย ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นมาก ซึ่งการออสโมซิสจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัยความเข้มข้นของสารระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ สามารถแบ่งประเภทของการออสโมซิสได้ 3 ประเภท ดังนี้


    1.Hypotonic Solution
   เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นของภายนอกเซลล์ น้อยกว่า ความเข้มข้นของสารภายในเซลลล์ น้ำจึงออสโมซิสเข้าไปในเซลล์เต่งขึ้นมา ถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้เซลล์ แตกได้

    2.Hypertonic Solution   
    เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นของภายนอกเซลล์ มากกว่า ความเข้มข้นของสารภายในเซลลล์ น้ำจึงออสโมซิสออกจากเซลล์เหี่ยว เนื่องจากการสูญเสียน้ำ

    3.Iotonic Solution
   เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นของภายนอกเซลล์ เท่ากับ ความเข้มข้นของสารภายในเซลลล์ ทำให้อัตตราการออสโทมซิสของน้ำเข้าและออกมีค่าเท่ากัน เซลล์ จึงมีขนาดเท่าเดิม


การเคลื่อนที่ของสาร ผ่านเข้าออกเซลล์

การเคลื่อนที่ของสาร ผ่านเข้าออกเซลล์

    การเคลื่อนที่ผ่านเข้าออกเซลล์ นั้น ต้องเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่สำคัญอย่างเยื่อหุ้มเซลล์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

    1. Active Transport
   เป็นการเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ โดยใช้พลลังงานจากกระบวนการเมตาบอลิซึม เป็นการเคลื่อนที่ของสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ จากพื้นที่ ที่มีความเข้มข้นของสารน้อยไปยังพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของสารมาก

    2.Passive Transport
   คือ การเคลื่อนที่ของงสารโดยไม่ใช้พลังงาน แบ่งได้ เป็น 2 ประเภทคือ

    - การแพร่ (Diffusion) >>>>
    - การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion) >>>>


การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion)

การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion)

    เป็นการแพร่ของสารที่ต้องอาศัยโปรตีนที่แทรกอยู่ระหว่างชั้นไขมันในการที่จะพาสารเข้าออกเซลล์ โดยสารที่จะลำเลียงเข้าไปในนั้นจะรวมตัวเข้ากับชั้นของโปรตีนซึ่งเรียกว่า โปรตีนตัวพา จะเป็นตัวพาสารเข้าสู่ด้านในของเซลล์.


ภาพตัวอย่าง การแพร่แบบฟาซิลิเทต (Facilitated Diffusion)

การแพร่ (Diffusion)

การแพร่ (Diffusion)

    เป็นการคลื่อนที่ของสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นมาก ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า เช่น การแพร่ของน้ำตาลในน้ำ น้ำตาลจะแพร่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของน้ำตาลมาก ไปยังพื้นที่ที่มีความเข้มข้นของน้ำตาลน้อยกว่า จนทุกยริเวณมีความเข้มข้นของน้ำตาลเท่าๆกันหมด สารจึงหยุดการแพร่ เรียกว่าลก "สมดุารแพร่" (ยังมีการเคลื่อนที่ของสารอยู่แต่ว่า การเคลื่อนที่ของสารในสารละลายทุกจุดเท่ากัน ทำให้เหมือนว่า สารยั้ยหยุดเคลื่อนที่)


ภาพตัวอย่าง การแพร่

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การแบ่งเซลล์

การแบ่งเซลล์

    การแบ่งเซลล์ เป้นการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิต ซึ่งผลของการแบ่งเซลล์ ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต และยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายรวมไปถึงการสร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์ เดิมที่ตายไป โดยการแบ่งเซลล์นั้นจะมีขั้นตอนสำคัญอยู่ 2 ขั้นตอน คือ การแบ่งนิวเคลียส (Karyokinesis) และการแบ่งไซโทรพลาสซึม (Cytokinesis) การแบ่งเซลล์สามารถแบ่งได้สองประเภทดีงนี้

    1. การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (Mitosis)
   การแบ่งเซลล์ของร่างกาย เป็นการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำนวนของเซลล์  เมื่อเสร็จแล้วจะไดเซลล์ 2 เซลล์ ที่มีลักษณะเหมือนกัน รวมถึงโครโมโซมที่ยังมีอยู่เท่าเดิม



     2. การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis)
    การแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งก็คือ อสุจิหรือ รังไข่ นั่นเอง โดยจะมีการแบ่งเซลล์ 2 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์ จะได้เซลลล์ใหม่ทั้งหมด 4 เซลล์ และมีจำนวนโครโมโซมเพียงครึ่งหนึ่งของโครโมซมร่างกายเสมอ




ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส

ขั้นตอนการแบ่งเซลล์ แบบไมโอซิส ไมโอซิส I (miosis I)     เป็นระยะที่มีการแบ่งเซลล์ เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง สามารถแบ่งได้ดังนี้ ...